วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การศึกษาปัญหามลพิษทางกลิ่นบริเวณถนนลงหาดบางแสนใต้

มลพิษทางกลิ่นบริเวณถนนลงหาดบางแสนใต้



เนื่องด้วยปัญหาของมลพิษทางด้านกลิ่นนั้น แม้ว่ามลภาวะด้านนี้จะไม่มีตัวชี้วัด โดยจะใช้ประสาทสัมผัสวัดระดับความความรุนแรงของกลิ่น ว่าจะส่งผลกระทบต่อบุคคลหรือต่อการดำเนินชีวิตมากน้อยเพียงใด ซึ่งแตกต่างกับเสียงที่มีหน่วยวัดระดับไว้อย่างชัดเจน เช่น 85เดซิเบลเป็นระดับที่ก่อให้เกิดอันตราย เป็นต้น
เนื่องจาก ปัญหาที่ทุกคนได้ประสบจากบริเวณหลังมหาวิทยาลัยบูรพา ในช่วงสองถึงสามเดือนที่ผ่านมาแล้วนั้น  คือ ปัญหากลิ่นเหม็นจากบริเวณนั้น ทางคณะผู้จัดทำจึงเลือกที่จะนำเสนอปัญหาขึ้นมา พร้อมทั้งหาสาเหตุที่มาของปัญหา และ ทางการแก้ปัญหาของสาเหตุที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                1.เพื่อศึกษาสาเหตุของมลพิษทางอากาศ ( กลิ่น )
                2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชากรในบริเวณนั้น
                3.ศึกษาผลกระทบของปัญหา
                4.ศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการศึกษาที่ได้รับสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในบริเวณพื้นที่ศึกษาและบริเวณอื่นที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับบริเวณพื้นที่ศึกษาเพื่อ เป็นประโยชน์ต่อประชาก่อนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นๆ


พื้นที่การศึกษา


 บริเวณถนนลงหาดบางแสนใต้ จนถึง หลังโรงงานบูรพาพรอพเพอร์

วิธีการศึกษา
1.หาสาเหตุของการเกิดกลิ่น จากการลงพื้นที่สอบถามชาวบ้าน
2.ทำเรื่องติดต่อ ขอข้อมูลเรื่องปัญหาของกลิ่น จากทางเทศบาล
3.ทางเทศบาลได้แนะนำให้ไปพบกับ คุณสมชาย ดวงชอุ่ม ซึ่งเป็นบุคคลที่ดูแลจัดการเรื่องการบำบัดน้ำเสีย และเป็นผู้ที่รู้ถึงปัญหา และ สาเหตุของกลิ่นได้เป็นอย่างดี
4.คณะผู้จัดทำได้ไปพบ คุณ สมชาย ดวงชอุ่ม เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหากลิ่นเหม็นอันเนื่องมาจากการเน่าของตะกอนแป้งในโรงงานแป้งบูรพาพรอพเพอร์
5.คณะผู้จัดทำได้ทำหนังสือ เพื่อขอเข้าไปดูวิธีการบำบัดน้ำเสียในโรงงาน
6.วันที่ 8 กุมพาพันธ์ 2554 คณะผู้จัดทำได้เข้าไปสำรวจพื้นที่จริง ที่โรงงานบูรพาพรอพเพอร์ โดยความอนุเคราะห์ของคุณสมชาย ซึ่งเป็นวิทยากรนำการสำรวจบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน โดยคณะผู้จัดทำได้ทำการบันทึกข้อมูลในรูปแบบของไฟล์เสียง  บันทึกวีดีโอ และจดบันทึก
7.คณะผู้จัดทำได้นำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ มาจัดทำเป็นบล็อก และรายงาน ต่อไป
ผลการศึกษา


สัมภาษณ์ คุณ สมชาย ดวงชอุ่ม

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร
                                E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส  เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส  อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์  รา  ฯลฯ
                                              จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลังแอนติออกซิเดชั่นซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
ด้านการเกษตร
- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ

ด้านการประมง
- ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี

ด้านสิ่งแวดล้อม
- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
 
 
 
 
 
 
 
 
การเข้าชมบ่อบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน
 
 
                    จากการที่ได้สอบถามชาวบ้านถึงปัญหากลิ่นเหม็นรุนแรง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ากลิ่นเหม็นนั้นมาจากโรงงานแป้งบูรพาพรอพเพอร์ ซึ่งได้ดำเนินกิจการมาหลาย 10 ปีแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มีปัญหาในเรื่องการส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านเลย แต่เมื่อ 2 ปีก่อน โรงงานได้ทำการล้างพื้นด้วยโซดาไฟ น้ำจากการล้างพื้นได้ไหลลงสู่บ่อบำบัดน้ำเสีย เลยเป็นเหตุให้เกิดกลิ่นเหม็นรุนแรงมาก เพราะโซดาไฟมีฤทธิ์เป็นด่าง เมื่อน้ำลงสู่บ่อบำบัดฤทธิ์ของโซดาไฟได้ไปฆ่าจุลินทรีย์จนตายหมด ทำให้แป้งตกตะกอนเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วรอบบริเวณของโรงงาน
 
 
สิ่งที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
 
 
 
EM
 
กากน้ำตาล
ถังที่ใช้หมักหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย



น้ำตาลอ้อย เป็นอาหารของจุลินทรีย์ได้อีกอย่างหนึ่ง

ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน

 
 

1.น้ำที่มาจากการผลิตแป้งออกจากโรงงานเข้าสู่บ่อหนึ่งซึ่งดักละอองและเศษแป้ง ในขั้นตอนนี้ยังคงมีกลิ่นรุนแรง หลังจากเศษแป้งตกตะกอนแล้วทางโรงงานจะตักเศษแป้งออกจากบ่อให้เทศบาลนำไปแจกจ่ายแก่ชาวบ้านรอบบริเวณโรงงานเพื่อนำไปเลี้ยงสัตว์เช่น สุกรและปลา เป็นต้น
 
(ตะกอนเศษแป้งที่เหลือจากการบำบัด)
 
2. น้ำจากบ่อที่หนึ่งถูกส่งเข้าเครื่องเพื่อปั่นตะกอนแป้งที่ตกค้างไม่ให้จับตัวเป็นก้อนแล้วสู่ถังที่รองรับตะกอนแป้งส่วนน้ำจะถูกส่งไปสู่บ่อสอง
 
3.น้ำจากบ่อหนึ่งไหลลงสู่บ่อสองตามท่อพีวีซี มีการตีออกซิเจนตลอด ป้องกันการจับตัวของแป้ง ที่บ่อสองนี้มีการใส่ปูนขาวเพื่อปรับค่า PH ให้เป็นกลาง เพื่อให้น้ำมีสภาพใกล้เคียงปกติมากที่สุด
 
4.น้ำจากบ่อสองไหลออกมาจากท่อที่ฝังอยู่ใต้ดิน มาสู่บ่อสาม ที่บ่อนี้ใช้เครื่องตีออกซิเจนตลอดเวลา และมีการใช้จุลินทรีย์ที่หมักเตรียมไว้เพื่อกำจัดกลิ่น วิธีนี้ใช้หลักการเลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อให้กินตะกอนแป้ง ซึ่งสังเกตุได้ว่ามีการตีออกซิเจนตลอดเวลาเพื่อให้จุลินทรีย์มีการดำรงชีวิตได้ น้ำในบ่อนี้จะมีสีน้ำตาลและค่อนข้างใส
 

5.เมื่อน้ำเต็มบ่อสาม จะมีการเปิดฝาท่อ เพื่อให้น้ำไหลลงสู่บ่อสี่  ที่บ่อนี้มีการเลี้ยงผักตบชวาเพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศไว้ให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด เป็นการพักน้ำก่อนส่งออกไปสู่ท่อระบายน้ำและน้ำนั้นจะไหลลงสู่บ่อบำบัดของเทศบาลต่อไป
 
ปัญหาในการดำเนินงาน
1.ในตอนแรกคณะผู้จัดทำได้ลงความเห็นว่า ปัญหาของกลิ่นเหม็นนั้นมาจากโรงงานน้ำปลา แต่เมื่อลงพื้นที่ จริง ทำการสอบถามชาวบ้านแล้วปรากฏว่า กลิ่นนั้นมาจากโรงงานแป้งบูรพาพรอพเพอร์ คณะผู้จัดทำจึงต้องเปลี่ยนพื้นที่การศึกษา ซึ่งทำให้การดำเนินงานล่าช้า
2.ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์ เนื่องจากกลัวจะมีปัญหากับเจ้าของโรงงาน
3.เวลาว่างในการทำงานของคณะผู้จัดทำมักไม่ตรงกัน
4.เนื่องจากคุณสมชาย ดวงชอุ่ม ซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้แก่คณะผู้จัดทำมีภารกิจมากมาย ทำให้มีเวลาว่างไม่ตรงกับคณะผู้จัดทำซึ่งต้องเรียนตลอดสัปดาห์  ซึ่งทำให้การดำเนินล่าช้าเป็นอย่างมาก
5.ทางโรงงานเข้มงวดมากเกี่ยวกับผู้ที่จะเข้าไปในโรงงาน
 
วิธีการแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
1.เร่งดำเนินการอย่างมีสติ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
2.ขอชาวบ้านบันทึกข้อมูลในรูปแบบของไฟล์เสียงแทนวีดีโอ
3.พยายามหาเวลาว่างให้ตรงกัน ให้มากที่สุด
4.รอจนกว่าคุณสมชายว่างจากงานประจำ แล้วจึงขอเวลาท่านในการขอข้อมูลในการทำงาน
5.คณะผู้จัดทำจึงทำหนังสือขออนุญาตเข้าไปในโรงงาน

แนวทางการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ
1. ประชาชนควรให้ความเรื่องมือ เรื่อง การรักษาความสะอาด โดยไม่ทิ้งขยะ และ เศษอาหารลงท่อระบายน้ำ
2. เทศบาลควรเข้าไปดูแลปัญหาอย่างจริงจัง ควรมีมาตรการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ใช่ที่ปลายเหตุ ควรหมั่นไปตรวจสอบบ่อยๆ
3. ทางโรงงานบูรพาพรอพเพอร์ควรหมั่นศึกษาทางแนวทางในการบำบัดน้ำเสีย อย่างต่อเนื่อง  และควรพัฒนากรรมวิธีการบำบัดน้ำเสีย ให้ดียิ่งๆขึ้นไป
 4. วิธีการบำบัดน้ำเสียควรนำวิธีบำบัดทางธรรมชาติ โดยการใช้พืชน้ำมาช่วยในการบำบัดน้ำเสียมากกว่านี้

ส่งท้าย
 
 
 
รายชื่อคณะผู้จัดทำ

นางสาว นุชนาถ  จันทร์บัว  52021067
นางสาว เพียงออ  ศรีวงษา  52021081
นางสาว มุกดา   พูลผล 52021089
 
คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์  ( ภาคปกติ )
 
 
 
ขั้นตอนการบำบัดน้ำเสีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น